กระบวนการคิดให้เป็นเรื่อง
การคิดเรื่องมันไม่ยากหรอกครับ
ก่อนอื่นอยากให้เริ่มต้นด้วยการเขียนโครงเรื่องสักหนึ่งหน้ากระดาษก่อน
เล่าว่าในหนังสั้นที่เรากำลังจะทำนี้ มีเหตุการณ์อะไรบ้าง ใคร ทำอะไร ที่ไหน
อย่างไร เมื่อไหร่ แบ่งเป็นฉากๆ ก็ได้ครับ ฉากที่ 1 ไปจนกระทั่งกี่ฉากก็ว่าไป
แต่ล่ะฉากก็ให้มีการเดินเรื่องไปข้างหน้าตลอดไม่ย่ำตัวเองอยู่กับที่
แต่ก่อนที่จะเริ่มคิดและเขียนเรื่องขึ้นมา
ก็อยากจะให้ทุกคนทราบถึงหลักของการเล่าเรื่องเสียก่อนหลักง่ายๆ ของการเริ่มต้นอยากจะเล่าเรื่องอะไรสักอย่างให้แก่คนทั่วๆ ไปได้รับรู้กันนั้น จริงๆ แล้วไม่ว่าหนัง,ละคร,นิทาน หรือนวนิยาย ต้นกำเนิดของเรื่องเล่ารูปแบบต่างๆ เหล่านี้มีไม่มากนัก
1.เล่าเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เช่น นาย ก.เดินทางไปในป่าเพื่อล่าสัตว์ และพบสิงโตตัวหนึ่งกำลังไล่ล่ากวาง ในระหว่างที่นาย ก. กำลังมองดูเหตุการณ์นี้ จู่ๆ สิงโตก็หันไปเห็นนาย ก.และวิ่งไล่ใส่นาย ก.แทน ฝ่ายนาย ก. เมื่อเห็นดังนั้นก็เลยรีบวิ่งโกยไม่คิดชีวิต เมื่อเขารอดมาได้ ไม่ว่าเจอหน้าใครเขาก็อดไม่ได้ที่จะเล่าเรื่องนี้ให้แก่คนผู้นั้นฟัง เรื่องเล่าประเภทนี้ ผู้เล่ามักจะมีอารมณ์ร่วมกับเรื่องที่ตนเองเล่าไปด้วยเป็นอย่างมาก พูดง่ายๆ ก็คือมี “ประสบการณ์ร่วม” หรือใกล้ชิดกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์นั้นๆ อย่างแท้จริง
2.เล่าเพราะเห็นเจอมา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับตัว เช่น นาย ข. ขึ้นรถเมล์ที่เบียดเสียด แล้วได้ไปเจอผู้ชายลุกให้เด็กนั่ง มันเป็นเหตุการณ์อันน่าประทับใจจนเขาต้องเล่าให้เพื่อนของเขาฟัง เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่กระทบความรู้สึกของคนเล่ามากเท่ากับเรื่องแบบแรก แต่ก็เป็นเรื่องที่โดนใจเขาได้หากลึกๆ แล้วมันเป็นประเด็นที่เขาอ่อนไหว เช่น นาย ข.โดยปรกติแล้วชอบช่วยเหลือคนที่อ่อนแอ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงสร้างความรู้สึกแก่เขา
3.เล่าเพราะจินตนาการ พูดง่ายๆ ก็คือเรื่องแต่งแบบ 100 เปอร์เซ็นต์เต็มน่ะแหละครับ อย่างพ่อที่เล่านิทานที่แต่งขึ้นมาเดี๋ยวนั้นให้ลูกฟังก่อนนอน เรื่องแบบนี้จะมีประสบการณ์ร่วมหรือรู้สึกไปกับเหตุการณ์น้อยกว่าเรื่องแบบที่สอง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าด้อยค่าไปกว่ากันเลย เพราะว่าเรื่องเล่าแบบนี้สามารถสร้างความอยากติดตามให้แก่ผู้ฟังได้ หากตัวคนเล่าเองเปิดใจเชื่อในสิ่งที่ตัวเองกำลังเล่าอยู่แบบหมดเปลือก
4.เล่าเพราะจำเป็นจะต้องเล่า แบบเด็กนักเรียนที่ต้องไปยืนพูดหน้าชั้นเรียน แล้วเล่าเหตุการณ์อะไรสักอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ก็จะเล่าแบบสะดุดเป็นห้วงๆ และไม่น่าสนใจไม่น่าติดตาม เรื่องเล่าแบบนี้หมดสิ้นทั้งความเชื่อในสิ่งที่กำลังเล่าอยู่ของตัวผู้เล่าเอง และความมีอารมณ์ร่วมหรือรู้สึกตามไปกับเรื่องที่เล่านั้นๆ
จะเห็นได้ว่าจากหัวข้อที่ผมยกขึ้นมาข้างต้น
ผมได้เน้นคำว่า “ประสบการณ์ร่วม” และ “ความเชื่อ” มากเป็นพิเศษ เพราะผมเชื่อว่านี่แหละครับ
สองสิ่งนี้แหละคือหัวใจสำคัญของการสร้างงานศิลปะใดๆ ก็ตามบนโลกให้ประสบความสำเร็จขึ้นมาได้
แม้กระทั่งสำหรับหนังสั้นก็ตาม
แต่ผมอยากจะให้ก่อนเริ่มต้นที่จะคิดเรื่องเพื่อจะทำหนังสั้นสักเรื่อง
สำหรับมือใหม่หัดทำ ควรจะเริ่มต้นด้วย “ประสบการณ์ร่วม”
กับเรื่องก่อน
หมายถึงว่าเขารู้สึกพิเศษหรือใกล้ชิดกับเรื่องที่กำลังเล่า คือในรูปแบบการเล่าเรื่องจะต้องอยู่ระหว่างข้อ 1 หรือ 2 ก่อน
เพราะการเริ่มด้วยเรื่องที่ตัวเองรู้จัก เข้าใจ และมีจดจำรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่น่าสนใจนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น หากคุณเป็นคนที่มีปมปัญหากับพี่หรือน้อง ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณก็อาจจะได้งานน่าสนใจสุดๆ จากการนำเรื่องเหล่านั้นมาเล่าผ่านหนังของคุณ หรือหากคุณเป็นพนักงานออฟฟิตที่โดนเจ้านายกดขี่และเป็นทุกข์ด้วยปัญหาต่างๆ คุณก็สามารถนำเอาเหตุการณ์นั้นๆ มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นชั้นดีในการทำหนังของคุณ
แต่มันก็ยังเป็นแค่ “องค์ประกอบหนึ่ง” เท่านั้นนะครับ เพราะอีกองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการเริ่มคิดเรื่องก็คือคุณจะต้องมี “ความเชื่อ” เป็นอย่างยิ่งกับเรื่องที่คุณจะเล่า แม้ว่าหากเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับคุณ แต่ถ้าคุณไม่มีความเชื่อในการที่จะถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างน่าสนใจ มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะทำหนังเรื่องนั้นๆ ขึ้นมา ความเชื่อที่ว่านั้นก็คือ เชื่อว่าเรื่องที่คุณคิดนั้นจะต้องมีพลังออกมาและส่งผลไปยังความรู้สึกนึกคิดของคน.....ความเชื่อที่ว่านั้นก็คือ เชื่อว่าเรื่องที่คุณคิดนั้นจะต้องมีพลังออกมาและส่งผลไปยังความรู้สึกนึกคิดของคนที่คุณอยากให้มาดูหนังของคุณ ให้เขาหัวเราะ,ร้องไห้ หรือฮึกเหิมเปี่ยมด้วยกำลังใจ จนกระทั่งเมื่อหนังจบก็ได้ซึบซับเอาสาระต่างๆ ที่คุณสอดแทรกเอาไว้ในหนังไปโดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงเชื่อมั่นในตัวเองว่าเรื่องที่กำลังทำอยู่นั้นน่าสนใจจริงๆ และเชื่อว่ามันได้กลั่นกรองมาจากก้นบึ้งของหัวใจคุณแล้วจริงๆ การมีความเชื่อเช่นนี้ คุณสามารถทำหนังอะไรก็ได้ทุกแบบครับ ตามรูปแบบข้างต้นก็จะตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 3 นั่นแหละ คือ แม้แต่เรื่องที่แต่งด้วยจินตนาการของคุณ สร้างโลกอุปโลกน์ขึ้นมาจากอากาศธาตุ ถ้าคุณทำหนังอย่าง Lord of the ring เมื่อคุณมีความเชื่อ คุณก็สามารถทำให้คนอื่นเชื่อได้ว่ามัจฉิมโลกมีอยู่จริง แต่...สุดท้ายก็ต้องมีคำว่าแต่ การมีประสบการณ์ร่วมหรือการมีความเชื่อในเรื่องที่จะเล่าอย่างเต็มเปี่ยม ก็อาจจะไม่ได้ทำให้คุณสามารถทำหนังในแบบที่คุณอยากทำได้อย่างสมบูรณ์พร้อมโดยแท้จริง เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ก็เพราะความเป็นจริงอย่างไรล่ะ
ความเป็นจริงจากปัจจัยรอบๆ ตัวคุณ เช่น คุณมีกล้อง มีไมค์บูมสำหรับอัดเสียง มีทีมงานสองสามคน มีบ้านหนึ่งหลัง และเพื่อนอีกไม่กี่คนที่พร้อมจะแสดงให้ ข้อจำกัดมากมายมักชอบมาบีบให้ความคิดสร้างสรรค์ของคนทำหนังต้องหดแคบลง อย่างเช่น หากคุณเล่าเรื่องของตัวเอง และมีฉากที่คุณอยู่ในงานฉลองปีใหม่และเป็นฉากสำคัญต่อเรื่อง เพราะในฉากนี้คุณจะต้องโดนหักอกในขณะเดียวกันคุณก็จะพบรักใหม่ แต่คุณกำลังถ่ายหนังช่วงกลางปี และไม่อาจจะรออีก 6 เดือนเพื่อถ่ายฉากนี้ได้ เพราะนักแสดงอาจจะตัดผม อาจจะไปเรียนต่อเมืองนอก และงบประมาณการสร้างอาจจะถูกใช้หมดไปเสียก่อน แล้วที่นี่จะทำไงดีล่ะ
ก็มาสู่ข้อเท็จจริงที่ว่า บางครั้งคนทำหนังที่ดีก็ต้องคิดเรื่องและเขียนบทให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและข้อจำกัด ในขณะที่ก็ยังสะท้อนตัวตนและเล่าเรื่องในแบบที่อยากเล่าได้ สามารถรักษาสมดุลของตาชั่งทั้งสองข้าง ผมเองขอยอมรับว่ามันอาจจะเป็นเรื่องยากเสียหน่อย แต่ถึงอย่างไรก็หนีไม่พ้นที่จะต้องทำน่ะครับ แปลว่าเมื่อเริ่มต้นทำหนังสั้นเรื่องแรก ความ “เอาแต่ใจตัวเอง” และความยึดมั่นถือมั่นในการจะเห็นในสิ่งที่อยากเห็นปรากฏบนหนังตนเอง หรือใส่สิ่งที่ชอบลงไปในเนื้องานของผู้กำกับไม่ควรมีมากจนเกินไป
เพราะการเริ่มด้วยเรื่องที่ตัวเองรู้จัก เข้าใจ และมีจดจำรายละเอียดหรือข้อเท็จจริงที่น่าสนใจนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น หากคุณเป็นคนที่มีปมปัญหากับพี่หรือน้อง ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ คุณก็อาจจะได้งานน่าสนใจสุดๆ จากการนำเรื่องเหล่านั้นมาเล่าผ่านหนังของคุณ หรือหากคุณเป็นพนักงานออฟฟิตที่โดนเจ้านายกดขี่และเป็นทุกข์ด้วยปัญหาต่างๆ คุณก็สามารถนำเอาเหตุการณ์นั้นๆ มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นชั้นดีในการทำหนังของคุณ
แต่มันก็ยังเป็นแค่ “องค์ประกอบหนึ่ง” เท่านั้นนะครับ เพราะอีกองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการเริ่มคิดเรื่องก็คือคุณจะต้องมี “ความเชื่อ” เป็นอย่างยิ่งกับเรื่องที่คุณจะเล่า แม้ว่าหากเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับคุณ แต่ถ้าคุณไม่มีความเชื่อในการที่จะถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างน่าสนใจ มันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะทำหนังเรื่องนั้นๆ ขึ้นมา ความเชื่อที่ว่านั้นก็คือ เชื่อว่าเรื่องที่คุณคิดนั้นจะต้องมีพลังออกมาและส่งผลไปยังความรู้สึกนึกคิดของคน.....ความเชื่อที่ว่านั้นก็คือ เชื่อว่าเรื่องที่คุณคิดนั้นจะต้องมีพลังออกมาและส่งผลไปยังความรู้สึกนึกคิดของคนที่คุณอยากให้มาดูหนังของคุณ ให้เขาหัวเราะ,ร้องไห้ หรือฮึกเหิมเปี่ยมด้วยกำลังใจ จนกระทั่งเมื่อหนังจบก็ได้ซึบซับเอาสาระต่างๆ ที่คุณสอดแทรกเอาไว้ในหนังไปโดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงเชื่อมั่นในตัวเองว่าเรื่องที่กำลังทำอยู่นั้นน่าสนใจจริงๆ และเชื่อว่ามันได้กลั่นกรองมาจากก้นบึ้งของหัวใจคุณแล้วจริงๆ การมีความเชื่อเช่นนี้ คุณสามารถทำหนังอะไรก็ได้ทุกแบบครับ ตามรูปแบบข้างต้นก็จะตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 3 นั่นแหละ คือ แม้แต่เรื่องที่แต่งด้วยจินตนาการของคุณ สร้างโลกอุปโลกน์ขึ้นมาจากอากาศธาตุ ถ้าคุณทำหนังอย่าง Lord of the ring เมื่อคุณมีความเชื่อ คุณก็สามารถทำให้คนอื่นเชื่อได้ว่ามัจฉิมโลกมีอยู่จริง แต่...สุดท้ายก็ต้องมีคำว่าแต่ การมีประสบการณ์ร่วมหรือการมีความเชื่อในเรื่องที่จะเล่าอย่างเต็มเปี่ยม ก็อาจจะไม่ได้ทำให้คุณสามารถทำหนังในแบบที่คุณอยากทำได้อย่างสมบูรณ์พร้อมโดยแท้จริง เพราะอะไรน่ะเหรอครับ ก็เพราะความเป็นจริงอย่างไรล่ะ
ความเป็นจริงจากปัจจัยรอบๆ ตัวคุณ เช่น คุณมีกล้อง มีไมค์บูมสำหรับอัดเสียง มีทีมงานสองสามคน มีบ้านหนึ่งหลัง และเพื่อนอีกไม่กี่คนที่พร้อมจะแสดงให้ ข้อจำกัดมากมายมักชอบมาบีบให้ความคิดสร้างสรรค์ของคนทำหนังต้องหดแคบลง อย่างเช่น หากคุณเล่าเรื่องของตัวเอง และมีฉากที่คุณอยู่ในงานฉลองปีใหม่และเป็นฉากสำคัญต่อเรื่อง เพราะในฉากนี้คุณจะต้องโดนหักอกในขณะเดียวกันคุณก็จะพบรักใหม่ แต่คุณกำลังถ่ายหนังช่วงกลางปี และไม่อาจจะรออีก 6 เดือนเพื่อถ่ายฉากนี้ได้ เพราะนักแสดงอาจจะตัดผม อาจจะไปเรียนต่อเมืองนอก และงบประมาณการสร้างอาจจะถูกใช้หมดไปเสียก่อน แล้วที่นี่จะทำไงดีล่ะ
ก็มาสู่ข้อเท็จจริงที่ว่า บางครั้งคนทำหนังที่ดีก็ต้องคิดเรื่องและเขียนบทให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและข้อจำกัด ในขณะที่ก็ยังสะท้อนตัวตนและเล่าเรื่องในแบบที่อยากเล่าได้ สามารถรักษาสมดุลของตาชั่งทั้งสองข้าง ผมเองขอยอมรับว่ามันอาจจะเป็นเรื่องยากเสียหน่อย แต่ถึงอย่างไรก็หนีไม่พ้นที่จะต้องทำน่ะครับ แปลว่าเมื่อเริ่มต้นทำหนังสั้นเรื่องแรก ความ “เอาแต่ใจตัวเอง” และความยึดมั่นถือมั่นในการจะเห็นในสิ่งที่อยากเห็นปรากฏบนหนังตนเอง หรือใส่สิ่งที่ชอบลงไปในเนื้องานของผู้กำกับไม่ควรมีมากจนเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น