โครงสร้างการเขียนบท
1.จุดเริ่มต้น (beginning) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง
2.การพัฒนาเรื่อง (developing) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์
เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น
3.จุดสิ้นสุด (ending) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง (happy ending) ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง (tragedy/ sad
ending) ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ
โครงเรื่องสู่การเป็นบท
เมื่อสามารถคิดและเขียนเรื่องโดยรู้จักที่จะประนีประนอมกับตัวเองได้แล้ว ก็มาสู่ขั้นการเขียนบท ทุกอย่างในขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้นเมื่อคุณมีโครงเรื่องที่เรียบร้อยดีอยู่แล้ว คุณก็แค่ยึดเอาโครงเรื่องนี้มาไว้กับตัว และจำหลักการง่ายๆ ดังต่อไปนี้ที่คุณควรจะยึดติดเอาไว้
1.จำไว้เสมอว่าตัวเองกำลังเล่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร หมายความว่าพยายามยึดเรื่องให้อยู่กับประเด็นหลักเอาไว้ เพราะว่ามีคนทำหนังมากมายที่หลงทางไปกับประเด็นแยกย่อย หรือเพิ่มเติมเนื้อหาบางอย่างเข้าไปทั้งๆ ที่มันไม่ได้ส่งผลใดๆ กับเรื่องราวที่กำลังเล่าอยู่เลย ยิ่งเป็นหนังสั้นด้วยแล้ว การเดินเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างมั่นคงยิ่งเป็นเรื่องจำเป็น
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณกำลังเล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่ง และจีบเธอโดยการส่งดอกไม้ทุกวัน คุณอาจจะขยายเรื่องราวว่า ชีวิตชายหนุ่มคนนี้เป็นอย่างไร เพื่ออธิบายว่าทำไมเขาถึงมาชอบหญิงสาวคนนี้ และอาจจะอธิบายเกี่ยวกับตัวหญิงสาวได้ว่า ชีวิตของเธอเป็นอย่างไรและทำไมเธอถึงกลายมาเป็นคนที่ชายหนุ่มหลงรัก แต่เรื่องจะหลงทางทันทีหากคุณไปเล่าเรื่องของแม่พระเอก หรือพ่อของนางเอก โดยที่มันไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อการที่พระเอกตามจีบนางเอก เว้นแต่ว่าจะเป็นเรื่องความรักของรุ่นพ่อรุ่นแม่ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับความรักของรุ่นลูกด้วยได้ การเล่าเรื่องที่ออกนอกประเด็นนั้นจะนำพามาทั้งความสับสนแก่คนดูว่า ตกลงแล้วคนทำหนังพยายามจะบอกอะไรกันแน่ ยังอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายเล็กน้อยขึ้นมาอีกด้วย การแก้ปัญหาตรงนี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับการวางโครงเรื่องรัดกุมแล้ว ยังอยู่ที่การเขียนบทที่มีสมาธิอีกด้วย
2. เดินเรื่องไปข้างหน้าอยู่ตลอด อย่างที่เกริ่นไว้ในหัวข้อการคิดเรื่อง การที่ทำให้เรื่องเดินหน้าไปตลอดนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหนังที่ต้องการให้คนดูได้รับความบันเทิง ยกตัวอย่างเช่น หากเราปูเรื่องไว้แล้วว่าพระเอกทำงานออฟฟิตที่น่าเบื่อหน่าย เพื่อนๆ ไม่ชอบหน้าเขา การบอกเล่าตรงนี้ควรจะเป็นแค่ครั้งหรือสองครั้งก็ได้ แต่หากมีบ่อยๆ ซ้ำๆ เกินควรอาจจะทำให้คนดูรู้สึกเบื่อหน่ายเรื่องที่กำลังดูอยู่ และพาลหมดความสนใจแก่ตัวหนังทั้งเรื่องไปได้
3.การยึดหลัก 3 องค์ ปรกติถ้าเป็นตำราเขียนบท เรื่องของ 3 องค์มักจะมาเป็นลำดับแรก แต่สำหรับผม ผมมองว่าเรื่องของโครงสร้างการเขียนบทนั้น มันยังจำเป็นน้อยกว่า 2 หัวข้อก่อนหน้านี้ หลัก 3 องค์ที่ว่าซึ่งคนที่เรียนเขียนบทหนังหรือบทละครมาก็คงจะรู้จักกันดีนะครับ
องค์แรกก็คือการปูเรื่อง เปิดตัวละคร จนเกิดเหตุการณ์พลิกผันกับตัวละคร นำไปสู่องค์ที่ 2 เช่น พระเอกเป็นพนักงานออฟฟิตธรรมดา โดยเจ้านายกดขี่ แฟนแอบนอกใจไปเป็นชู้กับเพื่อน แล้วจู่ๆ ก็มีคนเดินมาบอกว่า เขาคือสุดยอดนักฆ่าที่มีพลังมหาศาล และอยากชวนเขาเข้าร่วมองค์กร และพระเอกได้เจอฝ่ายเหล่าร้ายตามไล่ล่า จนตัดสินใจว่าจะต้องเข้าร่วมกับองค์กรนี้
องค์ที่สองก็คือส่วนกลางเรื่อง เล่าเรื่องที่ปูไปสุดจุดหักเหอีกครั้งก่อนจะเข้าส่ climax (ช่วงจบ)ตัวอย่างเช่น พระเอกมาฝึกฝนการต่อสู้กับองค์กรที่ชวนเขามาเข้าพวกจนสำเร็จสุดยอดวิชา แต่กลายเป็นว่าองค์กรนี้แท้จริงชั่วร้าย เลยต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรระหว่างหนีไปหรือทำลายองค์กรนี้
องค์ที่สามก็คือบทสรุปของเรื่องน่ะแหละครับ ตัวอย่างก็เช่น พระเอกตัดสินใจจะไม่หนีและสู้กับองค์กรร้าย การต่อสู้ดุเดือดเลือดพล่านแต่สุดท้ายพระเอกก็เป็นฝ่ายกุมชัยชนะ เรื่องจบลงโดยการที่พระเอกตัดสินใจใช้ความสามารถของตนผดุงคุณธรรม
4. เขียนให้คนอื่นๆ สามารถเห็นภาพตามไปด้วยได้ คนทำหนังทุกคนไม่ควรทำหนังคนเดียวครับ เพราะว่ามันเป็นไปได้ยากเหลือเกินที่จะสามารถทำเช่นนั้นได้เพราะไหนจะต้องมีสมาธิกับการกำกับ มีสมาธิว่าต่อไปจะต้องถ่ายฉากอะไรต่อ จะพักกินข้าวตอนไหน จะวางมุมกล้องยังไง ฯลฯ สารพัดครับ การเขียนบทที่สามารถทำให้เพื่อนร่วมงานเข้าใจได้ง่าย มองเห็นภาพในหนังได้ตรงกัน และทำให้การทำงานง่ายขึ้น
แต่ถ้าถามว่าเขียนอย่างไรถึงจะให้เป็นเช่นนั้นได้ อธิบายง่ายๆ เลยนะครับ ก็คือ อย่างเช่น ฉากที่พระเอกเดินเข้ามาในห้อง มันอาจจะมีรายละเอียดด้วยว่า “พระเอกเปิดประตูเข้ามาในห้อง เดินเข้ามาแล้วก็ปิดประตู จากนั้นก็เดินผ่านกองหนังสือเก่าที่วางระเกะระกะ ตรงเข้าไปนั่งที่โซฟาสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากประตูสักเท่าไหร่ ข้างๆ โซฟามีหน้าต่าง มองออกไปเห็นท้องฟ้าสีคราม พระเอกเมื่อนั่งลงแล้ว เขาก็นั่งนิ่งไม่ได้ทำอะไร” นี้คือหลักการเขียนบทเบื้องต้น
เมื่อสามารถคิดและเขียนเรื่องโดยรู้จักที่จะประนีประนอมกับตัวเองได้แล้ว ก็มาสู่ขั้นการเขียนบท ทุกอย่างในขั้นตอนนี้จะง่ายขึ้นเมื่อคุณมีโครงเรื่องที่เรียบร้อยดีอยู่แล้ว คุณก็แค่ยึดเอาโครงเรื่องนี้มาไว้กับตัว และจำหลักการง่ายๆ ดังต่อไปนี้ที่คุณควรจะยึดติดเอาไว้
1.จำไว้เสมอว่าตัวเองกำลังเล่าเรื่องเกี่ยวกับอะไร หมายความว่าพยายามยึดเรื่องให้อยู่กับประเด็นหลักเอาไว้ เพราะว่ามีคนทำหนังมากมายที่หลงทางไปกับประเด็นแยกย่อย หรือเพิ่มเติมเนื้อหาบางอย่างเข้าไปทั้งๆ ที่มันไม่ได้ส่งผลใดๆ กับเรื่องราวที่กำลังเล่าอยู่เลย ยิ่งเป็นหนังสั้นด้วยแล้ว การเดินเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างมั่นคงยิ่งเป็นเรื่องจำเป็น
ยกตัวอย่าง ถ้าคุณกำลังเล่าเรื่องของชายคนหนึ่งที่ตกหลุมรักหญิงสาวคนหนึ่ง และจีบเธอโดยการส่งดอกไม้ทุกวัน คุณอาจจะขยายเรื่องราวว่า ชีวิตชายหนุ่มคนนี้เป็นอย่างไร เพื่ออธิบายว่าทำไมเขาถึงมาชอบหญิงสาวคนนี้ และอาจจะอธิบายเกี่ยวกับตัวหญิงสาวได้ว่า ชีวิตของเธอเป็นอย่างไรและทำไมเธอถึงกลายมาเป็นคนที่ชายหนุ่มหลงรัก แต่เรื่องจะหลงทางทันทีหากคุณไปเล่าเรื่องของแม่พระเอก หรือพ่อของนางเอก โดยที่มันไม่ได้ส่งผลใดๆ ต่อการที่พระเอกตามจีบนางเอก เว้นแต่ว่าจะเป็นเรื่องความรักของรุ่นพ่อรุ่นแม่ ที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับความรักของรุ่นลูกด้วยได้ การเล่าเรื่องที่ออกนอกประเด็นนั้นจะนำพามาทั้งความสับสนแก่คนดูว่า ตกลงแล้วคนทำหนังพยายามจะบอกอะไรกันแน่ ยังอาจจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายเล็กน้อยขึ้นมาอีกด้วย การแก้ปัญหาตรงนี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับการวางโครงเรื่องรัดกุมแล้ว ยังอยู่ที่การเขียนบทที่มีสมาธิอีกด้วย
2. เดินเรื่องไปข้างหน้าอยู่ตลอด อย่างที่เกริ่นไว้ในหัวข้อการคิดเรื่อง การที่ทำให้เรื่องเดินหน้าไปตลอดนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหนังที่ต้องการให้คนดูได้รับความบันเทิง ยกตัวอย่างเช่น หากเราปูเรื่องไว้แล้วว่าพระเอกทำงานออฟฟิตที่น่าเบื่อหน่าย เพื่อนๆ ไม่ชอบหน้าเขา การบอกเล่าตรงนี้ควรจะเป็นแค่ครั้งหรือสองครั้งก็ได้ แต่หากมีบ่อยๆ ซ้ำๆ เกินควรอาจจะทำให้คนดูรู้สึกเบื่อหน่ายเรื่องที่กำลังดูอยู่ และพาลหมดความสนใจแก่ตัวหนังทั้งเรื่องไปได้
3.การยึดหลัก 3 องค์ ปรกติถ้าเป็นตำราเขียนบท เรื่องของ 3 องค์มักจะมาเป็นลำดับแรก แต่สำหรับผม ผมมองว่าเรื่องของโครงสร้างการเขียนบทนั้น มันยังจำเป็นน้อยกว่า 2 หัวข้อก่อนหน้านี้ หลัก 3 องค์ที่ว่าซึ่งคนที่เรียนเขียนบทหนังหรือบทละครมาก็คงจะรู้จักกันดีนะครับ
องค์แรกก็คือการปูเรื่อง เปิดตัวละคร จนเกิดเหตุการณ์พลิกผันกับตัวละคร นำไปสู่องค์ที่ 2 เช่น พระเอกเป็นพนักงานออฟฟิตธรรมดา โดยเจ้านายกดขี่ แฟนแอบนอกใจไปเป็นชู้กับเพื่อน แล้วจู่ๆ ก็มีคนเดินมาบอกว่า เขาคือสุดยอดนักฆ่าที่มีพลังมหาศาล และอยากชวนเขาเข้าร่วมองค์กร และพระเอกได้เจอฝ่ายเหล่าร้ายตามไล่ล่า จนตัดสินใจว่าจะต้องเข้าร่วมกับองค์กรนี้
องค์ที่สองก็คือส่วนกลางเรื่อง เล่าเรื่องที่ปูไปสุดจุดหักเหอีกครั้งก่อนจะเข้าส่ climax (ช่วงจบ)ตัวอย่างเช่น พระเอกมาฝึกฝนการต่อสู้กับองค์กรที่ชวนเขามาเข้าพวกจนสำเร็จสุดยอดวิชา แต่กลายเป็นว่าองค์กรนี้แท้จริงชั่วร้าย เลยต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรระหว่างหนีไปหรือทำลายองค์กรนี้
องค์ที่สามก็คือบทสรุปของเรื่องน่ะแหละครับ ตัวอย่างก็เช่น พระเอกตัดสินใจจะไม่หนีและสู้กับองค์กรร้าย การต่อสู้ดุเดือดเลือดพล่านแต่สุดท้ายพระเอกก็เป็นฝ่ายกุมชัยชนะ เรื่องจบลงโดยการที่พระเอกตัดสินใจใช้ความสามารถของตนผดุงคุณธรรม
4. เขียนให้คนอื่นๆ สามารถเห็นภาพตามไปด้วยได้ คนทำหนังทุกคนไม่ควรทำหนังคนเดียวครับ เพราะว่ามันเป็นไปได้ยากเหลือเกินที่จะสามารถทำเช่นนั้นได้เพราะไหนจะต้องมีสมาธิกับการกำกับ มีสมาธิว่าต่อไปจะต้องถ่ายฉากอะไรต่อ จะพักกินข้าวตอนไหน จะวางมุมกล้องยังไง ฯลฯ สารพัดครับ การเขียนบทที่สามารถทำให้เพื่อนร่วมงานเข้าใจได้ง่าย มองเห็นภาพในหนังได้ตรงกัน และทำให้การทำงานง่ายขึ้น
แต่ถ้าถามว่าเขียนอย่างไรถึงจะให้เป็นเช่นนั้นได้ อธิบายง่ายๆ เลยนะครับ ก็คือ อย่างเช่น ฉากที่พระเอกเดินเข้ามาในห้อง มันอาจจะมีรายละเอียดด้วยว่า “พระเอกเปิดประตูเข้ามาในห้อง เดินเข้ามาแล้วก็ปิดประตู จากนั้นก็เดินผ่านกองหนังสือเก่าที่วางระเกะระกะ ตรงเข้าไปนั่งที่โซฟาสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากประตูสักเท่าไหร่ ข้างๆ โซฟามีหน้าต่าง มองออกไปเห็นท้องฟ้าสีคราม พระเอกเมื่อนั่งลงแล้ว เขาก็นั่งนิ่งไม่ได้ทำอะไร” นี้คือหลักการเขียนบทเบื้องต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น